ความหมายการวางแผนงานสอบบัญชี
การวางแผนงานสอบบัญชีหมายถึง การกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานวิธีการ ลักษณะ และเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างชีอย่างเพียงพอและเหมาะสมทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตวัตถุประสงค์การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
การวางแผนงานสอบบัญชี
วัตถุประสงค์
แผน - ลักษณะของการตรวจสอบ
- ระยะเวลา
- ขอบเขตของการตรวจสอบ
นำไปปฏิบัติ
ลักษณะของการตรวจสอบ - แบ่งเป็นการทดสอบการควบคุม (Interim Audit) และการตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Year End Audit) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
ระยะเวลา - จะมีการตรวจสอบ 2 เวลา คือ ก่อนวันที่ 31 ธันวาคมจะเป็นการตรวจระบบการควบคุมภายในว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดและในการตรวจลักษณะนี้จะสนใจในเรื่องของระบบ (Text of control) และหลังวันที่ 31 ธันวาคม จะเป็นการตรวจสอบเนื้อหาสาระ การตรวจลักษณะนี้จะสนใจในเรื่องของจำนวนเงิน
ขอบเขต - เป็นการเลือกขนาดของตัวอย่างขึ้นมาทดสอบ
ขั้นตอนของการวางแผนงานสอบบัญชี
1. การพิจารณารับงานสอบบัญชี - การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่ที่ไมเคยมีผู้สอบบัญชีมาก่อนก็จะต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหาร ประเภทกิจการ ลักษณะของบริการและผลิตภัณฑ์ว่าเป็นอย่างไร และศึกษาข้อมูลทั่วไป ส่วนในกรณีที่เคยมีผู้สอบบัญชีมาก่อนควรสอบถามผู้สอบบัญชีคนเก่าโดยมีหนังสือว่ามีเหตุผลทางจรรณยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพประการใดหรือไม่ที่ตนควรนำมาพิจารณาในการรับงาน ถ้ามีเหตุผลผู้สอบบัญชีรายใหม่ต้องชี้แจงความจำเป็นที่จะขอทราบเหตุผลทางจรรณยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพเพื่อนำมาพิจารณาในการรับงาน ถ้าผู้สอบรายใหม่ต้องการที่จะตอบรับงานควรส่งหนังสือตอบรับงานสอบบัญชี (Engagement Letter)
2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่ตรวจสอบ - มีการทำ Plant Tour การตรวจเยี่ยมโรงงาน ในการเข้าไปตรวจเยี่ยมโรงงานผู้สอบบัญชีควรนำความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพติดตัวไปด้วย ต้องมีการสอบถามพูดคุยกับผู้บริหารในเรื่องของการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการที่จะทำต่อไปในภายหน้า เป็นต้น และอาจจะมีการสอบถามพูดคุยจากพนักงาน ต้องมีการจดบันทึกความเสี่ยง
3.การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น - ดูงบการเงินในปีที่ผ่านมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานแต่ละปี ดูสภาพคล่องของบริษัท ดูบัญชีสินค้าคงเหลือ ดูยอดลูกหนี้ เป็นต้น
4.การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ - จะพิจารณาจากขนาดหรือลักษณะของความไม่ถูกต้องของข้อมูลซึ่งมีผลต่อความถูกต้องที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของงบการเงิน หรืออีกนัยหนึ่งคือระดับความไม่ถูกต้องของรายการและข้อมูลที่ผู้สอบบัญชียอมรับได้
ตัวอย่างเช่น ผู้สอบบัญชีกำหนดระดับความสำคัญรายการที่ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงไว้จำนวนเงิน 500 บาท จากการตรวจสอบบัญชีพบว่ามียอดขายแสดงสูงไป 30 บาท เช่นนี้ผู้สอบถือว่ายอดขายแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างไม่มีสาระสำคัญ แต่หากผู้สอบบัญชีพบว่ายอดขายมียอดสูงไป 600 บาทผู้สอบถือว่ายอดขายแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ
20 มิถุนายน 2552
การวางแผนงานสอบบัญชี
แนวคิดเกี่ยวกับการสอบบัญชี
ความหมายของการสอบบัญชี
กระบวนการของการรวบรวมและการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกันของสาระสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ การสอบบัญชีควรปฏิบัติโดยบุคคลที่มีความรูความสามารถและมีความเป็นอิสระ
วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี
การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่
ลักษณะของผู้สอบบัญชี
1. Ethics มีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความเที่ยงตรง
2. Standard มีความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
3. Shepticism มีวิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี
· Auditor ผู้ตรวจสอบ - แสดงความเห็นเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของบริษัทให้ออกมาในรูปของ รายงาน
· Management ฝ่ายบริหาร - จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
1. มีข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง
2. มีความครบถ้วน
3. สินทรัพย์ หนี้สิน ต้องเป็นสิทธิและภาระผูกพันของบริษัท
4. สินทรัพย์ หนี้สิน ต้องตีราคาและวัดมูลค่าที่ถูกต้อง
5. ต้องแสดงรายการ และเปิดเผยข้อมูล
· User เกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้
กระบวนการของการรวบรวมและการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกันของสาระสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ การสอบบัญชีควรปฏิบัติโดยบุคคลที่มีความรูความสามารถและมีความเป็นอิสระ
วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี
การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่
ลักษณะของผู้สอบบัญชี
1. Ethics มีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความเที่ยงตรง
2. Standard มีความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
3. Shepticism มีวิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี
· Auditor ผู้ตรวจสอบ - แสดงความเห็นเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของบริษัทให้ออกมาในรูปของ รายงาน
· Management ฝ่ายบริหาร - จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
1. มีข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง
2. มีความครบถ้วน
3. สินทรัพย์ หนี้สิน ต้องเป็นสิทธิและภาระผูกพันของบริษัท
4. สินทรัพย์ หนี้สิน ต้องตีราคาและวัดมูลค่าที่ถูกต้อง
5. ต้องแสดงรายการ และเปิดเผยข้อมูล
· User เกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)