17 กรกฎาคม 2552

ตัวอย่างกระดาษทำการของบัญชีลูกหนี้การค้า







คลิ๊กที่นี่เพื่อดาวน์โหลดตัวอย่าง




กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี
หมายถึง เป็นเอกสาร/ไฟล์ข้อมูล เพื่อใช้ในการบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี ซึ่งหลักฐานนั้นต้องเพียงพอและเหมาะสม

กระดาษทำการจัดทำขึ้นเป็น 2ส่วน
1) กระดาษทำการที่ผู้สอบบัญชีทำขึ้นเอง
2) กระดาษทำการโดยลูกค้า

วัตถุประสงค์
- เพื่อบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
จะมีหลักฐานการวางแผน การปฏิบัติงาน
- เพื่อหาข้อสรุปและหารายงานการสอบบัญชี โดยจะนำหลักฐานการสอบบัญชีมาหาข้อสรุปและออกรายงานการสอบบัญชี
- เพื่อใช้ในการควบคุมและสอบรายงาน ช่วยให้มีการมอบหมายงานแก่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ช่วยในการควบคุมดูแลและสอบทานงานตรวจสอบได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบในงวดถัดไป โดยเราจะสามารถพิจารณาดูจากปีที่ผ่านมาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- เพื่อช่วยในการวางแผนและปฏิบัติงานสอบบัญชี ช่วยให้ผู้สอบแน่ใจว่า เรื่องที่สำคัญหรือเรื่องที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้มีการพิจารณาอย่างเหมาะสม รวมทั้งระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และทำให้งานตรวจสอบสำเร็จได้อย่างรวดเร็วทันเวลา


องค์ประกอบของกระดาษทำการ

1. หัวกระดาษทำการ
ควรมี ชื่อบริษัท เพื่อให้รู้ว่าเป็นของบริษัทใด ชื่อบัญชี งวดบัญชี เป็นต้น

2. ดัชนีกระดาษทำการ เพื่อใช้ในการจัดเตรียมให้เป็นลำดับ ง่ายต่อการปฏิบัติงาน
3. ผู้จัดทำ/ผู้สอบทาน/(พร้อมวันที่) เพื่อใช้ในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน เพื่อให้รู้การประมวลผลการทำงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ใช้ในการควบคุมการและสอบทานงาน
4. ข้อสรุปในการตรวจสอบ เพื่อออกรายงานการสอบบัญชี
5. เนื้อหารการตรวจสอบ/ หลักฐานการตรวจสอบ ตรวจรายการอะไรหลักฐานอะไรด้วยวิธีไหน
6. ขอบเขตของการตรวจสอบ เพราะบางครั้งเราต้องตรวจสอบว่าเกิดความเสี่ยงกี่เปอร์เซ็นต์

14 กรกฎาคม 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี
หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการแสดงต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงในการสอบบัญชีแบ่งเป็น 3 ประเภท
1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง ( Inherent Risk: IR)
เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่ในตัวไม่สามารถทำให้หมดไปได้ เช่น แก้วที่มีความเสี่ยงของการแตกอยู่ในตัว เป็นต้น การทำให้ความสี่ยงสืบเนื่องลดลงต้องมีการควบคุมภายใน ผู้สอบบัญชีจะประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องใน 2 ระดับใหญ่ ๆ คือ
· ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน - มีปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน ได้แก่ ลักษณะทางธุรกิจของกิจการ กิจการอาจผลิตสินค้าที่เป็นไปตามสมัยนิยม ความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ แรงกดดันของผู้บริหาร
· ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ - ความซับซ้อนของรายการ
ความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก รายการที่ผิดปกติรายการที่ต้องปรับปรุง
2. ความเสี่ยงจากการควบคุม ( Control Risk : CR)
ความเสี่ยงที่ระบบการควบคุมภายในไม่สามารถป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงได้อย่างทันเวลา
3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk : DR) ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระซึ่งผู้สอบบัญชีใช้จะไม่สามารถตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ เกิดจากสาเหตุความเสี่ยงจากการเลือกตัวอย่าง วิธีการตรวจสอบที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพมีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานตรวจสอบ


หลักฐานการสอบบัญชี (Audit-Evidence) หมายถึง ข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่ผู้สอบบัญชีได้รับเพื่อใช้สนับสนุนข้อสรุปในการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี
วิธีการรวบรวมข้อมูล
·
จากการตรวจ หมายถึง หลักฐานที่ได้มาโดยใช้วิธีการตรวจสอบ มี 2 ประเภท
- จากการตรวจเอกสาร เช่น ใบเบิกของใบขอซื้อ
- จากการตรวจความมีตัวตน คือ หลักฐานที่ได้จากการตรวจนับ การสังเกตการณ์
· จากการสังเกตการณ์ เช่น หลักฐานจากการสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ
· จากการสอบถาม มี 2 ประเภท
- เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือรับรองจากลูกค้า
- ทางวาจา เช่น การสอบถามกับผู้บริหารของกิจการ
· การยืนยันยอด หมายถึง หลักฐานที่ได้มาโดยใช้วิธีส่งหนังสือขอคำยืนยันยอดข้อมูลในสมุดบัญชีกับบุคคลภายนอก
· จากการคำนวณ เช่น การคำนวณโดยทั่วไป การคำนวณที่สลับซับซ้อน จากการกระทบยอด
· จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ คือ การเอา 2 รายการมาเปรียบเทียบกัน แล้วหาวิธีการตรวจสอบอื่นเพื่อเอามายืนยัน
แหล่งข้อมูล
· ภายในกิจการ หลักฐานจะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อกิจการมีระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
· ภายนอกกิจการ ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานการสอบบัญชีภายในกิจการ เช่น การขอคำยืนยันยอดที่ได้รับจากบุคคลภายนอก เนื่องจากบุคคลภายนอกเหล่านี้เป็นแหล่งที่มาของหลักฐานที่มีความเป็นอิสระ
· จากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี คือ หลักฐานที่ผู้สอบบัญชีได้ดำเนินการตรวจสอบด้วยตัวเอง เช่น ใบตรวจนับเงินสด สินค้าคงเหลือ และสินทรัพย์ถาวร หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี น่าเชื่อถือมากที่สุด

คุณลักษณะที่ดีของข้อมูล
· ความเพียงพอของหลักฐานการสอบบัญชี จะดูปริมาณให้เป็นไปตามขอบเขตที่กำหนดไว้ (ขนาดของตัวอย่าง)
· ความเหมาะสมของหลักฐานการสอบบัญชี คือ คุณภาพของหลักฐานการสอบบัญชีและความเกี่ยวพันของหลักฐานการสอบบัญชีกับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ และความเชื่อถือได้ ความเหมาะสมของหลักฐานการสอบบัญชีจะพิจารณาได้จาก
-แหล่งที่มาของหลักฐาน
-ช่วงเวลาที่ได้รับหลักฐาน ควรเก็บข้อมูลสุ่มตัวอย่าง ใกล้ๆวันสิ้นงวดสำหรับงบดุล ส่วนงบกำไรขาดทุนควร
เลือกตัวอย่างรายการที่เกิดขึ้นตลอดทั้งงวดบัญชี ควรได้รับให้ทันเวลาใช้และตัดสินใจ
-วิธีการได้มาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ การตรวจสอบยอดคงเหลือ/รายการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้
แผนการสอบบัญชีโดยรวม แนวการสอบบัญชีแผนการสอบบัญชี
- ขอบเขตของงาน การตรวจสอบอาจมีขอบเขตที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะของการรับงานสอบบัญชีและธุรกิจที่ตรวจสอบ เช่น ผู้สอบบัญชีอาจตรวจสอบงบการเงินเป็นรายไตรมาสด้วย และอาจต้องตรวจสอบงบการเงินรวมถ้าบริษัทที่ตรวจสอบมีบริษัทย่อย
- ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ ผู้สอบบัญชีได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบในการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่อง และความเสี่ยงจากการควบคุม ผู้สอบบัญชีจะบันทึกข้อมูลที่เป็นความรู้เกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
- ความเข้าใจในระบบบัญชี และระบบการควบคุมภายใน ผู้สอบบัญชีจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจในระบบบัญชี และระบบการควบคุมภายในของกิจการไว้แผนการสอบบัญชีโดยรวม เช่น นโยบายการบัญชีที่กิจการเลือกใช้ และการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
- ความเสี่ยงและความมีสาระสำคัญ ผู้สอบจะพิจารณาถึง สาเหตุที่จะทำให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีจะเลือกใช้วิธีการตรวจสอบที่คาดว่าจะลดความเสี่ยงในการสอบบัญชีให้อยู่ในระดับที่ตนยอมรับได้
- ลักษณะระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการปฏิบัติงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะกำหนดลักษณะระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการปฏิบัติงานสอบบัญชีโดยพิจารณาจากผลการประเมินความเสี่ยงและการทำความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน
- การประสานงาน การสั่งการ การควบคุมงาน และการสอบทาน ผู้สอบบัญชีควรบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการประสานงาน การสั่งการ การควบคุมงาน และการสอบทานเพื่อให้แน่ใจว่าได้มีการพิจารณาเรื่องที่สำคัญอย่างเหมาะสม รวมทั้งระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้งานสำเร็จอย่างรวดเร็ว
แนวการสอบบัญชี (Audit Program)
นิยามของแนวการสอบบัญชี คือ กระดาษทำการที่แสดงถึง ลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขต ในการตรวจสอบรายการ/ยอดคงเหลือ
องค์ประกอบ

- วัตถุประสงค์การตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานการตรวจสอบได้เข้าใจว่าวิธีการตรวจสอบต่างที่ระบุในแนวการสอบบัญชีปฏิบัติไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบตามที่กำหนดไว้
- ขอบเขตของการตรวจสอบ คือ ขนาดของตัวอย่างที่จะเลือกมาทดสอบ ระเวลาและจังหวะของการตรวจสอบรวมทั้งลักษณะของการตรวจสอบ
- เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้ จะเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีแต่ละประเภท เช่น การตรวจ การสังเกตการณ์ การสอบถาม
- เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ รวมถึงการประมาณเวลาและเวลาที่ใช้จริงในการตรวจสอบ
- ดัชนีกระดาษทำการอ้างอิง ควรระบุถึงดัชนีกระดาษทำการอ้างอิงงานตรวจสอบที่เกี่ยวข้องว่า งานตรวจสอบได้ทำในแต่ละเรื่องนั้นอยู่ในกระดาษทำการส่วนใด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจทานงาน
- ลายมือชื่อผู้ตรวจสอบและผู้สอบทาน และวันที่ตรวจสอยและสอบทานเสร็จสิ้น จะช่วยให้มีการแบ่งงานกันอย่างสะดวก รวมทั้งการติดตามงานและการสอบทานงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และการระบุวันที่ก็เพื่อให้ทราบว่างานใดที่ทำเสร็จแล้ว

20 มิถุนายน 2552

การวางแผนงานสอบบัญชี

ความหมายการวางแผนงานสอบบัญชี
การวางแผนงานสอบบัญชีหมายถึง การกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานวิธีการ ลักษณะ และเวลาที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีอย่างชีอย่างเพียงพอและเหมาะสมทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตวัตถุประสงค์การตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
การวางแผนงานสอบบัญชี

วัตถุประสงค์
แผน - ลักษณะของการตรวจสอบ
- ระยะเวลา
- ขอบเขตของการตรวจสอบ
นำไปปฏิบัติ


ลักษณะของการตรวจสอบ - แบ่งเป็นการทดสอบการควบคุม (Interim Audit) และการตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Year End Audit) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชี
ระยะเวลา -
จะมีการตรวจสอบ 2 เวลา คือ ก่อนวันที่ 31 ธันวาคมจะเป็นการตรวจระบบการควบคุมภายในว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดและในการตรวจลักษณะนี้จะสนใจในเรื่องของระบบ (Text of control) และหลังวันที่ 31 ธันวาคม จะเป็นการตรวจสอบเนื้อหาสาระ การตรวจลักษณะนี้จะสนใจในเรื่องของจำนวนเงิน
ขอบเขต - เป็นการเลือกขนาดของตัวอย่างขึ้นมาทดสอบ

ขั้นตอนของการวางแผนงานสอบบัญชี

1. การพิจารณารับงานสอบบัญชี -
การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่ที่ไมเคยมีผู้สอบบัญชีมาก่อนก็จะต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหาร ประเภทกิจการ ลักษณะของบริการและผลิตภัณฑ์ว่าเป็นอย่างไร และศึกษาข้อมูลทั่วไป ส่วนในกรณีที่เคยมีผู้สอบบัญชีมาก่อนควรสอบถามผู้สอบบัญชีคนเก่าโดยมีหนังสือว่ามีเหตุผลทางจรรณยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพประการใดหรือไม่ที่ตนควรนำมาพิจารณาในการรับงาน ถ้ามีเหตุผลผู้สอบบัญชีรายใหม่ต้องชี้แจงความจำเป็นที่จะขอทราบเหตุผลทางจรรณยาบรรณ หรือมารยาทของวิชาชีพเพื่อนำมาพิจารณาในการรับงาน ถ้าผู้สอบรายใหม่ต้องการที่จะตอบรับงานควรส่งหนังสือตอบรับงานสอบบัญชี (Engagement Letter)
2. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่ตรวจสอบ -
มีการทำ Plant Tour การตรวจเยี่ยมโรงงาน ในการเข้าไปตรวจเยี่ยมโรงงานผู้สอบบัญชีควรนำความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพติดตัวไปด้วย ต้องมีการสอบถามพูดคุยกับผู้บริหารในเรื่องของการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการที่จะทำต่อไปในภายหน้า เป็นต้น และอาจจะมีการสอบถามพูดคุยจากพนักงาน ต้องมีการจดบันทึกความเสี่ยง
3.การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น -
ดูงบการเงินในปีที่ผ่านมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานแต่ละปี ดูสภาพคล่องของบริษัท ดูบัญชีสินค้าคงเหลือ ดูยอดลูกหนี้ เป็นต้น
4.การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ -
จะพิจารณาจากขนาดหรือลักษณะของความไม่ถูกต้องของข้อมูลซึ่งมีผลต่อความถูกต้องที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของงบการเงิน หรืออีกนัยหนึ่งคือระดับความไม่ถูกต้องของรายการและข้อมูลที่ผู้สอบบัญชียอมรับได้
ตัวอย่างเช่น ผู้สอบบัญชีกำหนดระดับความสำคัญรายการที่ข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงไว้จำนวนเงิน 500 บาท จากการตรวจสอบบัญชีพบว่ามียอดขายแสดงสูงไป 30 บาท เช่นนี้ผู้สอบถือว่ายอดขายแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างไม่มีสาระสำคัญ แต่หากผู้สอบบัญชีพบว่ายอดขายมียอดสูงไป 600 บาทผู้สอบถือว่ายอดขายแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ

แนวคิดเกี่ยวกับการสอบบัญชี

ความหมายของการสอบบัญชี
กระบวนการของการรวบรวมและการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกันของสาระสนเทศนั้นกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ การสอบบัญชีควรปฏิบัติโดยบุคคลที่มีความรูความสามารถและมีความเป็นอิสระ
วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี
การแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้นได้แสดงฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือไม่

ลักษณะของผู้สอบบัญชี
1. Ethics มีจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความเที่ยงตรง
2. Standard มีความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
3. Shepticism มีวิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ


ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี
· Auditor
ผู้ตรวจสอบ - แสดงความเห็นเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของบริษัทให้ออกมาในรูปของ รายงาน
· Management
ฝ่ายบริหาร - จัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
1. มีข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง
2. มีความครบถ้วน
3. สินทรัพย์ หนี้สิน ต้องเป็นสิทธิและภาระผูกพันของบริษัท
4. สินทรัพย์ หนี้สิน ต้องตีราคาและวัดมูลค่าที่ถูกต้อง
5. ต้องแสดงรายการ และเปิดเผยข้อมูล

· User เกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้